วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ท้องถิ่นกับระเบียบพัสดุ

ท้องถิ่นกับระเบียบพัสดุ
ในปัจจุบันนี้ หน่วยการบริหาราชการส่วนท้องถิ่นได้ใช้ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2539, (ฉบับที่ 3 - 5)พ.ศ.2541, (ฉบับที่ 6)พ.ศ.2543, (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2545), (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2547) และ (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2553 ซึ่งได้ประกาศบังคับใช้ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2535  ซึ่งท้องถิ่นต้องเปลี่ยนจากระเบียบพัสดุที่ถูกยกเลิกทั้งฉบับ  มาใช้ระเบียบพัสดุฉบับนี้  ซึ่งมีผลตั้ง 27 ตุลาคม 2553 ที่ผ่านมา  ทำให้ท้องถิ่นซึ่งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลทั้งประเทศ  ต้องมาเริ่มต้นกับระเบียบพัสดุฉบับนี้ซึ่งมีมากถึง 160 มาตรา และยังมีประกาศที่ออกมาเพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบพัสดุนี้อีกด้วย    ในการจัดซื้อจัดจ้างนั้น ถือเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหาร  การจัดซื้อจัดจ้างพัสดุ(ส่วนมากจะดำเนินการในกรณีมีเงินเพียงพอแล้วหรือได้รับจัดสรรงบประมาณแล้ว มักจะไม่ค่อยสรรหาผู้รับจ้างไว้ก่อนมีเงินงบประมาณ ท้องถิ่นจะต้องดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2535 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2539, (ฉบับที่ 3 - 5)พ.ศ.2541, (ฉบับที่ 6)พ.ศ.2543, (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2545), (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2547) และ (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2553   สรุปที่ต้องปฏิบัติกันในการจัดซื้อจัดจ้าง มีกระบวนการดังนี้


ขั้นตอนการจัดซื้อ/จ้างตามวิธีตกลงราคา(ข้อ 12(1))
ข้อ 13 การซื้อวิธีตกลงราคา ใช้กรณีซื้อจ้างครั้งหนึ่งมีราคาไม่เกิน 100,000  บาท
ข้อ 20  ก่อนดําเนินการซื้อหรือจ้างทุกวิธี นอกจากการซื้อที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างตามข้อ21 ให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทํารายงานเสนอผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างตามรายการดังต่อไปนี้
(1)  เหตุผลและความจําเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง
(2)  รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรืองานที่จะจ้าง
(3)  ราคามาตรฐานหรือราคากลางของทางราชการ หรือราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ
(4)  วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง โดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ วงเงินตามโครงการเงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งนั้นทั้งหมด ถ้าไม่มีวงเงินดังกล่าวให้ระบุวงเงินที่ประมาณว่าจะซื้อหรือจ้างในครั้งนั้น
(5)  กําหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้น หรือให้งานนั้นแล้วเสร็จ
(6)  วิธีที่จะซื้อหรือจ้าง และเหตุผลที่ต้องซื้อหรือจ้างโดยวิธีนั้น
(7)  ข้อเสนออื่น ๆ เช่น การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆ ที่จําเป็นในการซื้อหรือจ้าง
การซื้อหรือจ้างโดยวิธีตกลงราคาในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท และการซื้อหรือจ้างโดยวิธีพิเศษกรณีเร่งด่วนตามข้อ 17 (2) หรือข้อ 18 (3) ซึ่งไม่อาจทํารายงานตามปกติได้ เจ้าหน้าที่พัสดุหรือเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการนั้น จะทํารายงานตามวรรคหนึ่งเฉพาะรายการที่เห็นว่าจําเป็นก็ได้
ข้อ 22 เมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจแล้ว ให้ดำเนินการตามวิธีดังกล่าวได้
ข้อ 27 ในการดําเนินการซื้อหรือการจ้างแต่ละครั้ง ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น เพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้พร้อมกับกําหนดระยะเวลาในการพิจารณาของคณะกรรมการ แล้วแต่กรณี คือ
(1)  ........
(6)  คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ  
(7)  คณะกรรมการตรวจการจ้าง
ให้คณะกรรมการแต่ละคณะรายงานผลการพิจารณาต่อหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นภายในระยะเวลาที่กําหนด  ถ้ามีเหตุที่ทําให้การรายงานล่าช้า        ให้เสนอหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นพิจารณาขยายเวลาให้ตามความจําเป็น
ข้อ 28 คณะกรรมการตามข้อ 27 แต่ละคณะให้ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคนและกรรมการอย่างน้อยสองคน โดยให้แต่งตั้งจากข้าราชการส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการอื่น โดยคํานึงถึงลักษณะหน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสําคัญ ในกรณีจําเป็นหรือเพื่อประโยชน์ของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น จะแต่งตั้งบุคคลอื่นอีกไม่เกินสองคน ร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้ ถ้าประธานกรรมการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นแต่งตั้งกรรมการคนใดคนหนึ่งดังกล่าวข้างต้นทําหน้าที่ประธานกรรมการแทน
การแต่งตั้งข้าราชการอื่นเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้ได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัด นายอําเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
สําหรับการซื้อหรือจ้างในวงเงินไม่เกิน 10,000 บาท จะแต่งตั้งข้าราชการส่วนท้องถิ่นคนหนึ่งซึ่งมิใช่ผู้จัดซื้อหรือจัดจ้างเป็นผู้ตรวจรับพัสดุหรืองานจ้างนั้น โดยให้ปฏิบัติหน้าที่เช่นเดียวกับคณะกรรมการตรวจรับพัสดุ หรือคณะกรรมการตรวจการจ้างก็ได้
ข้อ 29 ในการประชุมปรึกษาของคณะกรรมการแต่ละคณะ ต้องมีกรรมการมาพร้อมกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด ให้ประธานกรรมการและกรรมการแต่ละคนมีเสียงหนึ่งในการลงมติ
มติของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานกรรมการออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด เว้นแต่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุและคณะกรรมการตรวจการจ้างให้ถือมติเอกฉันท์
กรรมการของคณะใดไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการให้ทําบันทึกความเห็นแย้งไว้ด้วย
ข้อ 32 การซื้อหรือจ้างโดยวิธีตกลงราคา ให้เจ้าหน้าที่พัสดุติดต่อตกลงราคากับผู้ขายหรือผู้รับจ้างโดยตรง แล้วให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุจัดซื้อหรือจ้างได้ภายในวงเงินที่ได้รับความเห็นชอบจากตามข้อ 22
การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีตกลงราคาในกรณีจําเป็นและเร่งด่วนที่เกิดขึ้น โดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อนและไม่อาจดําเนินการตามปกติได้ทัน ให้เจ้าหน้าที่พัสดุหรือเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการนั้นดําเนินการไปก่อน แล้วรีบรายงานขอความเห็นชอบต่อผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และเมื่อผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างให้ความเห็นชอบแล้ว ให้ถือว่ารายงานดังกล่าวเป็นหลักฐานการตรวจรับโดยอนุโลม
ข้อ 125  การลงนามในสัญญาในการจัดหาตามระเบียบนี้ เป็นอํานาจของหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และให้ทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ตามตัวอย่างที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด
การทําสัญญารายใดถ้าจําเป็นต้องมีข้อความหรือรายการแตกต่างไปจากตัวอย่างสัญญาที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด โดยมีสาระสําคัญตามที่กําหนดไว้ในตัวอย่างสัญญาและไม่ทําให้ทางหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเสียเปรียบก็ให้กระทําได้ เว้นแต่หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอก็ให้ส่งร่างสัญญานั้นไปให้อัยการจังหวัดหรือสํานักงานอัยการสูงสุดพิจารณาก่อน
ในกรณีที่ไม่อาจทําสัญญาตามตัวอย่างที่กระทรวงมหาดไทยกําหนดได้ และจําเป็นต้องร่างสัญญาขึ้นใหม่ต้องส่งร่างสัญญานั้นให้สํานักงานอัยการสูงสุดพิจารณาก่อน เว้นแต่หัวหน้า ฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเห็นสมควรทําสัญญาตามแบบที่เคยผ่านการพิจารณาของอัยการจังหวัดหรือสํานักงานอัยการสูงสุดมาแล้ว ก็ให้กระทําได้
ข้อ 126  การจัดหาในกรณีดังต่อไปนี้จะทําข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันก็ได้ โดยให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
(1) การซื้อ การจ้าง หรือการแลกเปลี่ยนโดยวิธีตกลงราคา
(2) การจัดหาที่คู่สัญญาสามารถส่งมอบพัสดุได้ครบถ้วนภายในห้าวันทําการของทางราชการ นับตั้งแต่วันถัดจากวันทําข้อตกลงเป็นหนังสือ
ในกรณีการจัดหาซึ่งมีราคาไม่เกิน 10,000 บาท หรือในกรณีการซื้อหรือการจ้าง ซึ่งใช้วิธีดําเนินการตามข้อ 32 วรรคสอง จะไม่ทําข้อตกลงเป็นหนังสือไว้ต่อกันก็ได้
ข้อ 127 การทําสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือให้กําหนดค่าปรับเป็นรายวัน ในอัตราตายตัวระหว่างร้อยละ 0.01-0.20 ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบ เว้นแต่การจ้างซึ่งต้องการผลสําเร็จของงานทั้งหมดพร้อมกัน ให้กําหนดค่าปรับเป็นรายวันเป็นจํานวนเงินตายตัวในอัตราร้อยละ 0.01-0.10 ของราคางานจ้างนั้น แต่จะต้องไม่ตํ่ากว่าวันละ 100 บาท สําหรับการก่อสร้างสาธารณูปโภคที่มีผลกระทบต่อการจราจร ให้กําหนดค่าปรับในอัตราร้อยละ 0.25 ของราคางานจ้างนั้น
การกําหนดค่าปรับตามวรรคหนึ่ง ในอัตราหรือเป็นจํานวนเงินเท่าใด ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โดยคํานึงถึงราคาและลักษณะของพัสดุซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการที่คู่สัญญาของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือกระทบต่อการจราจรแล้วแต่กรณี
ในกรณีการจัดหาสิ่งของที่ประกอบกันเป็นชุด ถ้าขาดส่วนประกอบส่วนหนึ่งส่วนใดไปแล้วจะไม่สามารถใช้การโดยสมบูรณ์ แม้คู่สัญญาจะส่งมอบสิ่งของภายในกําหนดตามสัญญา แต่ยังขาดส่วนประกอบบางส่วน ต่อมาได้ส่งมอบส่วนประกอบที่ยังขาดนั้นเกินกําหนดสัญญาให้ถือว่าไม่ได้ส่งมอบสิ่งของนั้นเลย ให้ปรับเต็มราคาของทั้งชุด
ในกรณีที่การจัดหาสิ่งของคิดราคารวมทั้งค่าติดตั้งหรือทดลองด้วย ถ้าติดตั้งหรือทดลองเกินกว่ากําหนดตามสัญญาเป็นจํานวนวันเท่าใด ให้ปรับเป็นรายวันในอัตราที่กําหนดของราคาทั้งหมด
เมื่อครบกําหนดส่งมอบพัสดุตามสัญญาหรือข้อตกลง ให้หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรีบแจ้งการ
เรียกค่าปรับตามสัญญาหรือข้อตกลงจากคู่สัญญา และเมื่อคู่สัญญาได้ส่งมอบพัสดุให้หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นบอกสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับในขณะที่รับมอบพัสดุนั้นด้วย
ข้อ 129  สัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือที่ได้ลงนามแล้วจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงมิได้ เว้นแต่การแก้ไขนั้นจะเป็นความจําเป็นเพื่อประโยชน์แก่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หรือไม่ทําให้หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นต้องเสียประโยชน์ ทั้งนี้     การแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้ขอบข่ายของวัตถุประสงค์ของสัญญาหรือข้อตกลงด้วย โดยให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
(1) ถ้างบประมาณดําเนินการตั้งจ่ายจากเงินรายได้ ตามข้อ 57 ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่จะอนุมัติแก้ไขสัญญานั้นได้
(2) ถ้างบประมาณดําเนินการตั้งจ่ายจากเงินอุดหนุนที่กําหนดให้หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นไม่ต้องตราเป็นงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดหรือบางส่วน ให้รายงานเหตุผลความจําเป็นเพื่อขอทําความตกลงกับผู้ว่าราชการจังหวัด แต่ถ้ามีการเพิ่มวงเงินให้รายงานเหตุผลความจําเป็นเสนอจังหวัดเพื่อกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นพิจารณาขอทําความตกลงกับสํานักงบประมาณก่อน
(3) ถ้างบประมาณดําเนินการตั้งจ่ายจาก เงินกู้ภายในประเทศ หรือเงินช่วยเหลือ หรือเงินกู้ให้ปฏิบัติตาม (1) เว้นแต่จะมีหลักเกณฑ์ของแหล่งเงินนั้นๆ กําหนดไว้เป็นอย่างอื่นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลงตามวรรคหนึ่ง หากมีความจําเป็นต้องเพิ่มหรือลดวงเงิน หรือเพิ่มหรือลดระยะเวลาส่งมอบของหรือระยะเวลาในการทํางานให้ตกลงพร้อมกันไป และเมื่อได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวแล้วให้ปฏิบัติตามข้อ 128 ด้วย
สําหรับการจัดหาที่เกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรง หรืองานเทคนิคเฉพาะอย่าง จะต้อง ได้รับการรับรองจากวิศวกร สถาปนิกและวิศวกร ผู้ชํานาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรับผิดชอบหรือสามารถรับรองคุณลักษณะเฉพาะ แบบและรายการของงานก่อสร้าง หรืองานเทคนิคเฉพาะอย่างนั้น แล้วแต่กรณีด้วย
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลงข้างต้นที่มีผลเป็นการเพิ่มวงเงิน ให้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณด้วย
ข้อ 130  ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นพิจารณา ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ในกรณีที่มีเหตุอันเชื่อได้ว่า ผู้รับจ้างไม่สามารถทํางานให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด
การตกลงกับคู่สัญญาที่จะบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นพิจารณาได้เฉพาะกรณีที่เป็นประโยชน์แก่หน่วยการบริหาร       ราชการส่วนท้องถิ่นโดยตรง หรือเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ในการที่จะปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้นต่อไป
ข้อ 131 ในกรณีที่คู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงได้ และจะต้องมีการปรับตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้น หากจํานวนเงินค่าปรับจะเกินร้อยละสิบของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างให้หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นพิจารณาดําเนินการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง เว้นแต่คู่สัญญาจะได้ยินยอมเสียค่าปรับให้แก่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น    ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้เท่าที่จําเป็น
ข้อ 132 การงดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา หรือการขยายเวลาทําการตามสัญญาหรือข้อตกลงให้อยู่ในอํานาจของหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่จะพิจารณา แต่ถ้าวงเงินในการสั่งการให้จัดหาครั้งนั้นเกินอํานาจของหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ให้เสนอผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณา และให้พิจารณาได้ตามจํานวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริงเฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
(1) เหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
(2) เหตุสุดวิสัย
(3) เหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ให้หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นระบุไว้ในสัญญากําหนดให้คู่สัญญาต้องแจ้งเหตุดังกล่าว ให้หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นทราบภายใน 15 วัน นับแต่เหตุนั้นได้สิ้นสุดลง หากมิได้แจ้งภายในเวลาที่กําหนด คู่สัญญาจะยกมากล่าวอ้าง เพื่อขอลดหรืองดค่าปรับ หรือขอขยายเวลาในภายหลังมิได้ เว้นแต่กรณีตาม (1) ซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้งหรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น
ข้อ 133 ในกรณีที่ไม่มีระเบียบกําหนดไว้เป็นการเฉพาะและเป็นความจําเป็น เพื่อประโยชน์แก่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ที่จะใช้สิทธิตามเงื่อนไขของสัญญาหรือข้อตกลง หรือข้อกฎหมายให้อยู่ในดุลพินิจของกระทรวงมหาดไทยสั่งการได้ตามความจําเป็น
ข้อ 134 หลักประกันซองหรือหลักประกันสัญญา ให้ใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) เงินสด
(2) เช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย ซึ่งเป็นเช็คลงวันที่ที่ใช้เช็คนั้นชําระต่อเจ้าหน้าที่ หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน 3 วันทําการ
(3) หนังสือคํ้าประกันของธนาคารภายในประเทศตามตัวอย่างที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด
(4) หนังสือคํ้าประกันของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์ และประกอบธุรกิจคํ้าประกันตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามรายชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ส่วนราชการต่าง ๆ ทราบแล้วโดยอนุโลม ให้ใช้ตามตัวอย่างหนังสือคํ้าประกันของธนาคารที่กระทรวงมหาดไทย
(5) พันธบัตรรัฐบาลไทย
ข้อ 136 ในกรณีที่ส่วนราชการ หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น หรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้เสนอราคาหรือเป็นคู่สัญญาไม่ต้องวางหลักประกัน
ข้อ 64 คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ มีหน้าที่ดังนี้
(1) ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทําการของผู้ใช้พัสดุนั้น หรือสถานที่ซึ่งกําหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลงการตรวจรับพัสดุ ณ สถานที่อื่น ในกรณีที่ไม่มีสัญญาหรือข้อตกลง จะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นก่อน
(2)  ตรวจรับพัสดุให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้ สําหรับกรณีที่มีการทดลองหรือตรวจสอบในทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์ จะเชิญผู้ชํานาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุนั้นมาให้คําปรึกษา หรือส่งพัสดุนั้นไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ สถานที่ของผู้ชํานาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒินั้นๆ ก็ได้ในกรณีจําเป็นที่ไม่สามารถตรวจนับเป็นจํานวนหน่วยทั้งหมดได้ ให้ตรวจรับตามหลักวิชาการสถิติ
(3)  โดยปกติให้ตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนําพัสดุมาส่ง และให้ดําเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด
(4)  เมื่อตรวจถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้รับพัสดุไว้และถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้ส่งมอบพัสดุถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนําพัสดุนั้นมาส่ง แล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่พัสดุพร้อมกับทําใบตรวจรับโดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อยสองฉบับ มอบแก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง 1 ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ1 ฉบับ เพื่อดําเนินการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และรายงานให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นทราบในกรณีที่เห็นว่าพัสดุที่ส่งมอบมีรายละเอียดไม่เป็นไปตามข้อกําหนดในสัญญาหรือข้อตกลง ให้รายงานหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเพื่อทราบหรือสั่งการแล้วแต่กรณี
(5)  ในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบพัสดุถูกต้องแต่ไม่ครบจํานวน หรือส่งมอบครบจํานวน แต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงมิได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้ตรวจรับไว้เฉพาะจํานวนที่ถูกต้อง โดยถือปฏิบัติตาม (4) และโดยปกติให้รีบรายงานหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน 3 วันทําการ นับแต่วันตรวจพบ แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่จะปรับผู้ขายหรือผู้รับจ้างในจํานวนที่ส่งมอบที่ส่งมอบไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องนั้น
(6)  การตรวจรับพัสดุที่ประกอบกันเป็นชุดหรือหน่วย ถ้าขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์ ให้ถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างยังมิได้ส่งมอบพัสดุนั้น และโดยปกติให้รีบรายงานหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน 3 วันทําการ นับแต่วันที่ตรวจพบ
(7)  ถ้ากรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับพัสดุ โดยทําความเห็นแย้งไว้ ให้เสนอหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นสั่งการให้รับพัสดุนั้นไว้ จึงดําเนินการตาม (4) หรือ (5) แล้วแต่กรณี
ข้อ 65  คณะกรรมการตรวจการจ้างมีหน้าที่ดังนี้
(1)  ตรวจสอบรายงานการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง และเหตุการณ์แวดล้อมที่ผู้ควบคุมงานรายงาน โดยตรวจสอบกับแบบรูป รายการละเอียด และข้อกําหนดในสัญญาทุกสัปดาห์ รวมทั้ง รับทราบหรือพิจารณาการสั่งหยุดงาน หรือพักงานของผู้ควบคุมงานแล้วรายงานหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
(2)  การดําเนินการตาม (1) ในกรณีมีข้อสงสัย หรือมีกรณีที่เห็นว่าตามหลักวิชาการช่างไม่น่าจะเป็นไปได้ ให้ออกตรวจงานจ้าง ณ สถานที่ที่กําหนดไว้ในสัญญาหรือที่ตกลงให้ทํางานจ้างนั้นๆ โดยให้มีอํานาจสั่งปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม หรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควรและตามหลักวิชาการช่างเพื่อให้เป็นไปตามแบบรูป รายการละเอียดและข้อกําหนดในสัญญา
(3)  โดยปกติให้ตรวจผลงานที่ผู้รับจ้างส่งมอบภายใน 3 วันทําการ นับแต่วันที่ประธานกรรมการได้รับทราบการส่งมอบงาน และให้ทําการตรวจรับให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด
(4)  เมื่อตรวจเห็นว่าเป็นการถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามแบบรูป รายการละเอียด และข้อกําหนดในสัญญาแล้วให้ถือว่าผู้รับจ้างส่งมอบงานครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้รับจ้างส่งงานจ้างนั้น และให้ทําใบรับรองผลการปฏิบัติงานทั้งหมดหรือเฉพาะงวด แล้วแต่กรณีโดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน อย่างน้อย 2 ฉบับ มอบให้แก่ผู้รับจ้าง 1 ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ 1 ฉบับ เพื่อทําการเบิกจ่ายเงิน ตามระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และรายงานให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นทราบ
ในกรณีที่เห็นว่าผลงานที่ส่งมอบทั้งหมดหรืองวดใดก็ตามไม่เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกําหนดในสัญญา ให้รายงานหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ เพื่อทราบหรือสั่งการแล้วแต่กรณี
(5)  ในกรณีที่กรรมการตรวจการจ้างบางคนไม่ยอมรับงานโดยทําความเห็นแย้งไว้ให้เสนอหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นสั่งการให้ตรวจรับงานจ้างนั้นไว้ จึงจะดําเนินการตาม (4)
                                เมื่อดำเนินการถึงกระบวนการตรวจรับพัสดุ/ตรวจรับงานจ้างเรียบร้อยแล้ว ให้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 ข้อ 47 การซื้อ เช่าทรัพย์สิน หรือจ้างทำของ ให้หน่วยงานผู้เบิกรีบดำเนินการวางฎีกาเบิกเงินโดยเร็วอย่างช้าไม่เกินห้าวัน นับจากวันที่ได้ตรวจรับทรัพยสินหรือตรวจรับงานถูกต้อง
ข้อ 144 พัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นไม่ว่าจะได้มาด้วยประการใด ให้อยู่ในความควบคุมตามระเบียบนี้ เว้นแต่มีระเบียบกระทรวงมหาดไทยหรือกฎหมายกําหนดไว้ เป็นอย่างอื่น
ข้อ 145 เมื่อเจ้าหน้าที่พัสดุได้รับมอบแล้ว ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ลงบัญชีหรือทะเบียนเพื่อควบคุมพัสดุ แล้วแต่กรณี แยกเป็นชนิดและแสดงรายการตามตัวอย่างที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด โดยให้มีหลักฐานการรับเข้าบัญชีหรือทะเบียนไว้ประกอบรายการด้วยสําหรับพัสดุประเภทอาหารสด จะลงรายการอาหารสดทุกชนิดในบัญชีเดียวกันก็ได้
(2) เก็บรักษาพัสดุให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยและให้ครบถ้วนถูกต้องตรงตามบัญชีหรือทะเบียน





ขั้นตอนการจัดซื้อ/จ้างตามวิธีสอบราคา(ข้อ 12(2))
ข้อ 14 การซื้อวิธีสอบราคา ใช้กรณีซื้อจ้างครั้งหนึ่งมีราคาเกิน 100,000  บาท  แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท
ข้อ 20  ก่อนดําเนินการซื้อหรือจ้างทุกวิธี นอกจากการซื้อที่ดินและหรือสิ่งก่อสร้างตามข้อ21 ให้เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทํารายงานเสนอผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างตามรายการดังต่อไปนี้
(1)  เหตุผลและความจําเป็นที่ต้องซื้อหรือจ้าง
(2)  รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อหรืองานที่จะจ้าง
(3)  ราคามาตรฐานหรือราคากลางของทางราชการ หรือราคาที่เคยซื้อหรือจ้างครั้งหลังสุดภายในระยะเวลา 2 ปีงบประมาณ
(4)  วงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง โดยให้ระบุวงเงินงบประมาณ วงเงินตามโครงการเงินกู้ หรือเงินช่วยเหลือที่จะซื้อหรือจ้างในครั้งนั้นทั้งหมด ถ้าไม่มีวงเงินดังกล่าวให้ระบุวงเงินที่ประมาณว่าจะซื้อหรือจ้างในครั้งนั้น
(5)  กําหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุนั้น หรือให้งานนั้นแล้วเสร็จ
(6)  วิธีที่จะซื้อหรือจ้าง และเหตุผลที่ต้องซื้อหรือจ้างโดยวิธีนั้น
(7)  ข้อเสนออื่น ๆ เช่น การขออนุมัติแต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆ ที่จําเป็นในการซื้อหรือจ้าง การออกประกาศสอบราคาหรือประกาศประกวดราคา
ข้อ 27 ในการดําเนินการซื้อหรือการจ้างแต่ละครั้ง ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้น เพื่อปฏิบัติการตามระเบียบนี้พร้อมกับกําหนดระยะเวลาในการพิจารณาของคณะกรรมการ แล้วแต่กรณี คือ
(1)  คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา
(6)  คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ
(7)  คณะกรรมการตรวจการจ้าง
ให้คณะกรรมการแต่ละคณะรายงานผลการพิจารณาต่อหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นภายในระยะเวลาที่กําหนด ถ้ามีเหตุที่ทําให้การรายงานล่าช้า         ให้เสนอหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นพิจารณาขยายเวลาให้ตามความจําเป็น
ข้อ 28  คณะกรรมการตามข้อ 27 แต่ละคณะให้ประกอบด้วยประธานกรรมการหนึ่งคนและกรรมการอย่างน้อยสองคน โดยให้แต่งตั้งจากข้าราชการส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการอื่น โดยคํานึงถึงลักษณะหน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นสําคัญ ในกรณีจําเป็นหรือเพื่อประโยชน์ของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น จะแต่งตั้งบุคคลอื่นอีกไม่เกินสองคน ร่วมเป็นกรรมการด้วยก็ได้ ถ้าประธานกรรมการไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นแต่งตั้งกรรมการคนใดคนหนึ่งดังกล่าวข้างต้นทําหน้าที่ประธานกรรมการแทน
การแต่งตั้งข้าราชการอื่นเป็นประธานกรรมการหรือกรรมการตามวรรคหนึ่ง ให้ได้รับความเห็นชอบจากผู้ว่าราชการจังหวัด นายอําเภอหรือหัวหน้าส่วนราชการนั้น ๆ แล้วแต่กรณี
ในกรณีเมื่อถึงกําหนดเวลาการเปิดซองสอบราคาหรือรับซองประกวดราคาแล้ว ประธานกรรมการยังไม่มาปฏิบัติหน้าที่ ให้กรรมการที่มาประชุมเลือกกรรมการคนหนึ่งทําหน้าที่ประธานกรรมการในเวลานั้น        โดยให้คณะกรรมการดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่เฉพาะข้อ 35 (1) หรือข้อ 42 แล้วแต่กรณี แล้วรายงานประธานกรรมการซึ่งหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นแต่งตั้งเพื่อดําเนินการต่อไป
ข้อ 29 ในการประชุมปรึกษาของคณะกรรมการแต่ละคณะ ต้องมีกรรมการมาพร้อมกันไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจํานวนกรรมการทั้งหมด ให้ประธานกรรมการและกรรมการแต่ละคนมีเสียงหนึ่งในการลงมติ
มติของคณะกรรมการให้ถือเสียงข้างมาก ถ้าคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานกรรมการออกเสียงเพิ่มขึ้นอีกเสียงหนึ่งเป็นเสียงชี้ขาด เว้นแต่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุและคณะกรรมการตรวจการจ้างให้ถือมติเอกฉันท์
กรรมการของคณะใดไม่เห็นด้วยกับมติของคณะกรรมการให้ทําบันทึกความเห็นแย้งไว้ด้วย
ข้อ 30  ในการจ้างก่อสร้างแต่ละครั้ง ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น แต่งตั้งผู้ควบคุมงานที่มีความรู้ความชํานาญทางด้านช่างตามลักษณะของงานก่อสร้างจากข้าราชการส่วนท้องถิ่นในสังกัด หรือข้าราชการในสังกัดอื่นตามที่ได้รับความยินยอมจากผู้ว่าราชการจังหวัดนายอําเภอ หรือหัวหน้าส่วนราชการของข้าราชการผู้นั้นแล้วแต่กรณี      ในกรณีที่ลักษณะของงานก่อสร้างมีความจําเป็นต้องใช้ความรู้ความชํานาญหลายด้าน จะแต่งตั้งผู้ควบคุมงานเฉพาะด้านหรือเป็นกลุ่มบุคคลก็ได้
ผู้ควบคุมงานควรมีคุณวุฒิตามที่ผู้ออกแบบเสนอแนะ และโดยปกติจะต้องมีคุณวุฒิไม่ตํ่ากว่าระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ
ในกรณีจําเป็นจะต้องจ้างที่ปรึกษาหรือเอกชนเป็นผู้ควบคุมงานแทนข้าราชการส่วนท้องถิ่นหรือข้าราชการอื่นตามวรรคหนึ่ง ให้ถือปฏิบัติตามระเบียบนี้ ในส่วนที่ 3 หรือส่วนที่ 4 แล้วแต่กรณี
ข้อ 22 เมื่อได้รับความเห็นชอบจากผู้มีอำนาจแล้ว ให้ดำเนินการตามวิธีดังกล่าวได้


ข้อ 33 เจ้าหน้าที่พัสดุจัดทำเอกสารสอบราคา โดยอย่างน้อยแสดงรายการ ดังนี้
(1)    คุณลักษณะของพัสดุ และจำนวนที่ต้องการหรือแบบรูปรายละเอียดและปริมาณงานที่ต้องการจ้าง
(กรณีจำเป็นต้องดูสถานที่ หรือชี้แจงรายละเอียดเพิ่มเติมให้กำหนดไว้สถานที่ วัน และเวลานัดหมายไว้ด้วย
(2)    คุณสมบัติผู้เข้าเสนอราคาต้องมีอาชีพนั้นโดยตรง โดยต้องแสดงหลักฐานด้วย
(3)    กรณีจำเป็นให้ระบุผู้เสนอราคาส่งตัวอย่าง แคตตาล๊อก หรือแบบรูป และรายการละเอียดไปพร้อมใบ
เสนอราคา
(4)    ถ้าจำเป็นต้องตรวจทดลอง ให้กำหนดจำนวนตัวอย่างให้พอแก่การตรวจทดลอง และเหลือไว้สำหรับ
การทำสัญญาด้วย ให้กำหนดว่าทางราชการไม่รับผิดชอบในความเสียหายใด ๆ ที่เกิดจากการทดสอบตัวอย่างนั้น
(5)    สถานที่ติดต่อเกี่ยวกับแบบรูปรายละเอียด กรณีการขาย ให้ระบุราคาขายไว้ด้วย
(6)    ข้อกำหนดให้เสนอราคาเป็นราคารวมทั้งสิ้น หรือราคาต่อหน่วย หรือ ต่อรายการ ให้กำหนดอย่างใด
อย่างหนึ่งให้ชัดเจน
(7)    แบบใบเสนอราคา กำหนดไว้ด้วยว่าในลงราคารวมทั้งสิ้นเป็นตัวเลขและต้องมีตัวหนังสือกำกับ ถ้า
ตัวเลขและตัวหนังสือไม่ตรงกันให้ถือตัวหนังสือเป็นสำคัญ  กรณีสอบราคาจ้างก่อสร้างให้กำหนดแบบบัญชีรายการก่อสร้างตามความเหมาะสม เพื่อให้ผู้เสนอราคากรอกปริมาณวัสดุและราคาด้วย
(8)    กำหนดระยะเวลายืนราคาเท่าที่จำเป็น และกำหนดว่าซองเสนอราคาที่ยื่นต่อทางราชการ และ
ลงทะเบียนรับซองแล้วจะถอนคืนมิได้
(9)    กำหนดสถานที่ส่งมอบ และวันส่งมอบโดยประมาณสำหรับการซื้อ  กรณีงานจ้างให้กำหนดวันเริ่ม
ทำงานและวันแล้วเสร็จโดยประมาณ
(10)กำหนดสถานที่ วัน เวลา เปิดซองสอบราคา
(11)กำหนดให้ผู้เสนอราคาผนึกซองราคาให้เรียบร้อย ก่อนยื่นต่อหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น จ่า
หน้าถึง ประธานคณะกรรมการเปิดซองสอบราคาการซื้อการจ้างครั้งนั้น และ ส่งถึงหน่วยการบริหารส่วนท้องถิ่นก่อนวันเปิดซอง โดยให้ส่งเอกสารหลักฐานต่าง ๆ พร้อมจัดบัญชีรายการเอกสารเสนอไปพร้อมกับซองราคาด้วย   กรณีให้ยื่นซองทางไปรษณีย์ได้ ให้กำหนดวิธีการปฏิบัติให้ชัดเจนด้วย
(12)กำหนดเงื่อนไขในการสงวนสิทธิที่จะถือว่าผู้ที่ไม่ไปทำสัญญาหรือข้อตกลงกับทางราชการเป็นผู้ทิ้งงาน
(13)กำหนดว่าผู้เข้าเสนอราคาที่ได้รับคัดเลือกให้ไปทำสัญญาต้องวางหลักประกันสัญญาตามชนิด และ
อัตราในข้อ 133 และ 134
(14)ร่างสัญญา รวมทั้งการแบ่งงวดงาน การจ่ายเงิน เงื่อนไขการจ่ายเงินล่วงหน้า (ถ้ามี) และอัตราค่าปรับ
(15)ข้อสงวนสิทธิว่า หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นจะไม่พิจารณาผู้เสนอราคาที่เป็นผู้ทิ้งงานของ
ทางราชการหรือผู้ทิ้งงานของทางหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นทรงไว้ซึ่งสิทธิที่จะงดซื้อหรือจ้าง หรือเลือกซื้อหรือจ้าง โดยไม่จําต้องซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคาตํ่าสุดเสมอไป รวมทั้งจะพิจารณายกเลิกการสอบราคาและลงโทษผู้เสนอราคาเสมือนเป็นผู้ทิ้งงาน หากมีเหตุที่เชื่อได้ว่าการเสนอราคากระทําไปโดยไม่สุจริตหรือมีการสมยอมกันในการเสนอราคา
ข้อ 34 การดำเนินการ ดังนี้
          (1) ก่อนวันเปิดซองสอบราคาไม่น้อยกว่าสิบวัน ให้เจ้าหน้าที่พัสดุส่งประกาศเผยแพร่การสอบราคาและเอกสารสอบราคาไปยังผู้มีอาชีพขายหรือรับจ้างทํางานนั้นโดยตรง หรือโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนให้มากที่สุด
เท่าที่จะทําได้     แต่ทั้งนี้ต้องไม่น้อยกว่าห้าราย กับให้ปิดประกาศเผยแพร่การสอบราคาไว้โดยเปิดเผย ณ ที่ทําการของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นนั้น และศูนย์รวมข้อมูลข่าวสารการจัดซื้อจ้างขององค์การบริหารส่วนตำบลระดับอำเภอ ซึ่งตั้งขึ้นตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุขององค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2538 
(2) ในการยื่นซองสอบราคา ผู้เสนอราคาจะต้องผนึกซองจ่าหน้าถึงประธานคณะกรรมการเปิดซองสอบราคาการซื้อการจ้างครั้งนั้น และส่งถึงหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นผู้ดําเนินการสอบราคาก่อนวันเปิดซองสอบราคา โดยยื่นโดยตรงต่อหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหรือส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนในกรณีที่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นกําหนดให้กระทําได้
(3) ให้เจ้าหน้าที่ลงรับโดยไม่เปิดซองพร้อมระบุวันและเวลาที่รับซองไว้ที่ซองด้วย ในกรณีที่ผู้เสนอราคามายื่นซองโดยตรงให้ออกใบรับให้แก่ผู้ยื่นซอง สําหรับกรณีที่เป็นการยื่นซองทางไปรษณีย์ ให้ถือวันและเวลาที่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นนั้นลงรับจากไปรษณีย์ เป็นเวลารับซองและให้ส่งมอบซองให้แก่หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุทันที
(4) ให้หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเก็บรักษาซองเสนอราคาทุกรายโดยไม่เปิดซอง และเมื่อถึงกําหนดเวลาเปิดซองสอบราคาแล้ว ให้ส่งมอบซองเสนอราคาพร้อมทั้งรายงานผลการรับซองต่อคณะกรรมการเปิดซองสอบราคา เพื่อดําเนินการต่อไป
ข้อ 35 คณะกรรมการเปิดซองสอบราคามีหน้าที่ ดังนี้
(1) เปิดซองใบเสนอราคา และอ่านแจ้งราคาพร้อมบัญชีรายการเอกสารหลักฐานต่างๆ ของผู้เสนอราคาทุกราย โดยเปิดเผยตาม วัน เวลา และสถานที่ที่กําหนด และตรวจสอบรายการเอกสารตามบัญชีของผู้เสนอราคาทุกราย แล้วให้กรรมการทุกคนลงลายมือชื่อกํากับไว้ในใบเสนอราคาและเอกสารประกอบใบเสนอราคาทุกแผ่น
(2) ตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ใบเสนอราคา แคตตาล็อก หรือแบบรูป และรายการละเอียด แล้วคัดเลือกผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตามเงื่อนไขในเอกสารสอบราคา
(3) พิจารณาคัดเลือกพัสดุหรืองานจ้างของผู้เสนอราคาที่ถูกต้องตาม (2) ที่มีคุณภาพและคุณสมบัติเป็นประโยชน์ต่อหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และเสนอให้ซื้อหรือจ้างจากรายที่คัดเลือกไว้แล้ว ซึ่งเสนอราคาตํ่าสุด
     ในกรณีที่ผู้เสนอราคาตํ่าสุดดังกล่าวไม่ยอมเข้าทําสัญญาหรือข้อตกลงกับหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในเวลาที่กําหนดตามเอกสารสอบราคา ให้คณะกรรมการพิจารณาจากผู้เสนอราคาตํ่ารายถัดไปตามลําดับ
     ถ้ามีผู้เสนอราคาเท่ากันหลายราย ให้เรียกผู้เสนอราคาดังกล่าวมาขอให้เสนอราคาใหม่พร้อมกันด้วย
วิธียื่นซองเสนอราคา
     ถ้าปรากฏว่าราคาของผู้เสนอราคารายที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างสูงกว่าวงเงินที่จะซื้อ
หรือจ้าง ให้คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาดําเนินการตามข้อ  36
(4) ในกรณีที่มีผู้เสนอราคาถูกต้องตรงตามรายการละเอียดและเงื่อนไขที่กําหนดไว้ ในเอกสารสอบราคา
เพียงรายเดียว ให้คณะกรรมการดําเนินการตาม (3) โดยอนุโลม
(5) ให้คณะกรรมการรายงานผลการพิจารณาและความเห็นพร้อมด้วยเอกสารที่ได้รับไว้ทั้งหมดต่อผู้สั่งซื้อ
หรือผู้สั่งจ้างเพื่อสั่งการ โดยเสนอผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ และหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
          การพิจารณาคุณสมบัติผู้เสนอราคา ให้พิจารณาในหลักเกณฑ์ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันและการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมในการพิจารณาคุณสมบัติผู้เสนอราคาด้วย
เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติหมายความว่า คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาตามข้อ 35 คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคาตามข้อ 43 คณะกรรมการดําเนินการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกตามข้อ 81 คณะกรรมการดําเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือก ตามข้อ 96 คณะกรรมการดําเนินการจ้างโดยวิธีคัดเลือกแบบจํากัดข้อกําหนดตามข้อ 99 หรือผู้ว่าจ้างในกรณีการจ้างออกแบบและควบคุมงานโดยวิธีพิเศษที่เป็นการว่าจ้างโดยการประกวดแบบตามข้อ 100 (2)
ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันหมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่เข้าเสนอราคาขายในการซื้อพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หรือเข้าเสนอราคา เพื่อรับจ้างทําพัสดุ หรือเข้าเสนองานเพื่อรับจ้างเป็นที่ปรึกษา หรือรับจ้างออกแบบและควบคุมงาน ให้แก่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เป็นผู้มีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในกิจการของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอื่นที่เข้าเสนอราคาหรือเข้าเสนองานให้แก่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นนั้นในคราวเดียวกัน
การมีส่วนได้เสียไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลดังกล่าวข้างต้น ได้แก่ การที่บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลดังกล่าวมีความสัมพันธ์กันในลักษณะดังต่อไปนี้
(1) มีความสัมพันธ์กันในเชิงบริหารโดยผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจในการดําเนินงานในกิจการของบุคคลธรรมดาหรือของนิติบุคคลรายหนึ่ง มีอํานาจหรือสามารถใช้อํานาจในการบริหารจัดการกิจการของบุคคลธรรมดาหรือของนิติบุคคลอีกรายหนึ่งหรือหลายรายที่เสนอราคาหรือเสนองานให้แก่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นนั้น ในคราวเดียวกัน
(2) มีความสัมพันธ์กันในเชิงทุน โดยผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือผู้เป็นหุ้นส่วนไม่จํากัดความรับผิดในห้างหุ้นส่วนจํากัด หรือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชน จํากัด เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือห้างหุ้นส่วนจํากัด หรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ในบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด อีกรายหนึ่งหรือหลายรายที่เสนอราคาหรือเสนองานให้แก่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นนั้นในคราวเดียวกัน
คําว่า ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ให้หมายความว่า ผู้ถือหุ้นซึ่งถือหุ้นเกินกว่าร้อยละยี่สิบห้าในกิจการนั้นหรือในอัตราอื่น ตามที่ปลัดกระทรวงมหาดไทยเห็นสมควรประกาศกําหนดสําหรับกิจการบางประเภทหรือบางขนาด
(3) มีความสัมพันธ์กันในลักษณะไขว้กันระหว่าง (1) และ (2) โดยผู้จัดการ หุ้นส่วน       ผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจในการดําเนินงานในกิจการของบุคคลธรรมดา หรือของนิติบุคคลรายหนึ่ง เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญหรือห้างหุ้นส่วนจํากัด หรือเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในบริษัทจํากัดหรือบริษัทมหาชนจํากัด อีกรายหนึ่งหรือหลายรายที่เข้าเสนอราคาหรือเสนองานให้แก่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นนั้นในคราวเดียวกัน หรือในนัยกลับกัน
การดํารงตําแหน่ง การเป็นหุ้นส่วน หรือการเข้าถือหุ้นดังกล่าวข้างต้นของคู่สมรส หรือบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะของบุคคลใน (1) (2) หรือ (3) ให้ถือว่าเป็นการดํารงตําแหน่ง การเป็นหุ้นส่วน หรือการถือหุ้นของบุคคลดังกล่าว
ในกรณีบุคคลใดใช้ชื่อบุคคลอื่นเป็นผู้จัดการ หุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นโดยที่ตนเองเป็นผู้ใช้อํานาจในการบริหารที่แท้จริง หรือเป็นหุ้นส่วน หรือผู้ถือหุ้นที่แท้จริงของห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัด แล้วแต่กรณีและห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทจํากัด หรือบริษัทมหาชนจํากัดที่เกี่ยวข้องได้เข้าเสนอราคาหรือเสนองานให้แก่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นนั้นในคราวเดียวกัน ให้ถือว่าผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานนั้น มีความสัมพันธ์กันตาม (1)(2) หรือ (3) แล้วแต่กรณี
การขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมหมายความว่า การที่ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายหนึ่งหรือหลายรายกระทําการอย่างใดๆ อันเป็นการขัดขวาง หรือเป็นอุปสรรคหรือไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมในการเสนอราคา หรือเสนองานต่อหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นไม่ว่าจะกระทําโดยการสมยอมกัน หรือโดยการให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ เรียก รับ หรือยอมจะรับเงิน หรือทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด หรือใช้กําลังประทุษร้ายหรือข่มขู่ว่าจะใช้กําลังประทุษร้าย หรือแสดงเอกสารเป็นเท็จ หรือกระทําการใดโดยทุจริต ทั้งนี้     โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะแสวงหาประโยชน์ในระหว่างผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานด้วยกัน หรือเพื่อให้ประโยชน์แก่ผู้เสนอราคา หรือผู้เสนอรายหนึ่งรายใดเป็นผู้มีสิทธิทําสัญญากับหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นนั้น หรือเพื่อหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมหรือเพื่อให้เกิดความได้เปรียบหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นโดยมิใช่เป็นไปในทางการประกอบธุรกิจปกติ

ข้อ 10 จัตวา เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรมตามข้อ 10 ตรี ให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่เป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันแต่เพียงรายเดียวเท่านั้นมีสิทธิที่จะเสนอราคาหรือเสนองานในการซื้อหรือการจ้างทําพัสดุ การจ้างที่ปรึกษา หรือการจ้างออกแบบและควบคุมงานของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นในแต่ละครั้ง
ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ ดําเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานแต่ละรายว่าเป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ ก่อนการเปิดซองสอบราคาประกวดราคา หรือเสนองาน แล้วแต่กรณี และในกรณีการซื้อหรือการจ้างทําพัสดุ โดยวิธีประกวดราคาตามข้อ 47 หรือการจ้างที่ปรึกษาโดยวิธีคัดเลือกตามข้อ 78 และ ข้อ 82 ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติ ดําเนินการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานดังกล่าว ก่อนการเปิดซองข้อเสนอด้านเทคนิค ซองข้อเสนอด้านราคา หรือซองข้อเสนอทางการเงิน
ข้อ 10 เบญจ ในการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานแต่ละรายตามข้อ10 จัตวา วรรคสอง ให้เจ้าหน้าที่กําหนดให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติแยกมาต่างหากโดยอย่างน้อยต้องมีเอกสารดังต่อไปนี้
(1) ในกรณีผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานเป็นนิติบุคคล ให้ยื่นสําเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล หนังสือบริคณห์สนธิ บัญชีรายชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้มีอํานาจควบคุมและบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นรายใหญ่ พร้อมทั้งรับรองสําเนาถูกต้อง
(2) ในกรณีผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานเป็นบุคคลธรรมดาหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลให้ยื่นสําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้นั้น สําเนาข้อตกลงที่แสดงถึงการเข้าเป็นหุ้นส่วน (ถ้ามี) สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้เป็นหุ้นส่วน พร้อมทั้งรับรองสําเนาถูกต้อง
(3) ในกรณีที่ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานร่วมกันในฐานะเป็นผู้ร่วมค้า ให้ยื่นสําเนาสัญญาของการเข้าร่วมค้า สําเนาบัตรประจําตัวประชาชนของผู้ร่วมค้า และในกรณีที่ผู้เข้าร่วมค้าฝ่ายใดเป็นบุคคลธรรมดาที่มิได้ถือสัญชาติไทย ก็ให้ยื่นสําเนาหนังสือเดินทาง หรือถ้าผู้ร่วมค้าฝ่ายใดเป็นนิติบุคคล ให้ยื่นเอกสารตามที่ระบุไว้ใน (1)
(4) เอกสารอื่นตามที่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นกําหนด เช่น หนังสือแสดงฐานะทางการเงิน สําเนาใบทะเบียนพาณิชย์ สําเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มการยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติตามวรรคหนึ่ง ให้ยื่นพร้อมกับการยื่นซองสอบราคาประกวดราคา หรือเสนองาน แล้วแต่กรณี สําหรับกรณีที่ระเบียบนี้กําหนดให้ยื่นซองข้อเสนอด้านเทคนิคเพียงซองเดียวตามข้อ 80 (2) ให้ผู้เสนองานยื่นเอกสารแสดงคุณสมบัติตามวรรคหนึ่งมาพร้อมกับการยื่นซองดังกล่าวด้วย
เมื่อได้มีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานแต่ละรายตามข้อ 10 จัตวาวรรคสองแล้ว ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติประกาศรายชื่อผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกไว้ในที่เปิดเผย ณ สถานที่ทําการของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นโดยพลัน และถ้าผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานอยู่ ณ สถานที่ที่มีการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองานแล้วแต่กรณี ให้เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายนั้นทราบด้วย
ข้อ 10 ฉ เมื่อได้มีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานแต่ละรายตามข้อ10 จัตวา วรรคสองแล้ว หากปรากฏว่ามีผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานเป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติตัดรายชื่อผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานดังกล่าวทุกรายออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานในการเสนอราคาหรือเสนองานในครั้งนั้น พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายดังกล่าวทราบโดยพลัน
ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกตัดรายชื่อออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานเพราะเหตุเป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน อาจอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวต่อผู้ว่าราชการจังหวัด โดยอุทธรณ์ภายใน 3 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งพร้อมทั้งแสดงเหตุผลของการอุทธรณ์และเอกสารที่เกี่ยวข้องมาด้วย
ในกรณีที่มีการยื่นอุทธรณ์ตามวรรคสอง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์พร้อมทั้งแจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบโดยพลัน การวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ว่าราชการจังหวัดให้ถือเป็นที่สุด สําหรับการเสนอราคาหรือเสนองานในการซื้อหรือการจ้างทําพัสดุ การจ้างที่ปรึกษา หรือการจ้างออกแบบและควบคุมงานในครั้งนั้น และให้ส่งคําวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยทราบด้วย
การยื่นอุทธรณ์ตามวรรคสอง ย่อมไม่เป็นเหตุให้มีการขยายระยะเวลาการเปิดซองสอบราคาประกวดราคา หรือเสนองาน แล้วแต่กรณี ทั้งนี้        เว้นแต่ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาเห็นว่าการขยายระยะเวลาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์แก่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอย่างยิ่ง และในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาแล้วเห็นด้วยกับคําคัดค้านของผู้อุทธรณ์ และเห็นว่าการยกเลิกการเปิดซองสอบราคาประกวดราคา หรือเสนองานที่ได้ดําเนินการไปแล้วจะเป็นประโยชน์แก่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอย่างยิ่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจสั่งยกเลิกการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองานดังกล่าวได้
ข้อ 10 สัตต นอกจากการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานแต่ละรายตามข้อ 10 จัตวา วรรคสองและตามข้อ 138 แล้ว หากปรากฏต่อเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติก่อนหรือในขณะที่มีการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน ว่ามีผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานกระทําการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติทําการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าว หากเชื่อได้ว่ามีการกระทําอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ให้เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติตัดรายชื่อผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่กระทําการดังกล่าวทุกรายออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานในการซื้อหรือการจ้างทําพัสดุ การจ้างที่ปรึกษาหรือการจ้างออกแบบและควบคุมงานในครั้งนั้น เว้นแต่เจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติจะวินิจฉัยว่าผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานนั้น เป็นผู้ที่ให้ความร่วมมือเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นและมิได้เป็นผู้ริเริ่มให้มีการกระทําดังกล่าว ตามนัยข้อ 138/4 จะไม่ตัดรายชื่อผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานนั้นออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือ ผู้เสนองานในการซื้อหรือการจ้างทําพัสดุ การจ้างที่ปรึกษา หรือการจ้างออกแบบและควบคุมงานนั้นก็ได้
ให้นําความในข้อ 10 เบญจ วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม และผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกตัดรายชื่อออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานตามวรรคหนึ่ง มีสิทธิอุทธรณ์คําสั่งของเจ้าหน้าที่ที่มีหน้าที่ตรวจสอบคุณสมบัติได้ ทั้งนี้ให้นําความในข้อ 10 วรรคสอง วรรคสาม และวรรคสี่ มาใช้กับการอุทธรณ์ในกรณีนี้โดยอนุโลม และให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อพิจารณาให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองาน ที่ถูกตัดรายชื่อออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานตามวรรคหนึ่ง เป็นผู้ทิ้งงานตามความในหมวด 2 ส่วนที่ 8 การลงโทษผู้ทิ้งงาน
ข้อ 10 อัฏฐ ในกรณีที่ปรากฏข้อเท็จจริงภายหลังจากการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคาหรือเสนองานแล้วว่า ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกตามที่ได้ประกาศรายชื่อไว้ตามข้อ 10 เบญจ วรรคสาม เป็นผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้เสนอราคาหรือ ผู้เสนองานรายอื่นหรือเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่กระทําการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น มีอํานาจที่จะตัดรายชื่อผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่มีสิทธิได้รับการคัดเลือกดังกล่าวทุกรายออกจากประกาศรายชื่อตามข้อ 10 เบญจ วรรคสาม
ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเสนอต่อผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อพิจารณาให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกตัดรายชื่อออกจากการเป็นผู้เสนอราคาหรือ ผู้เสนองานตามวรรคหนึ่ง เป็นผู้ทิ้งงานตามความในหมวด 2 ส่วนที่ 8 การลงโทษผู้ทิ้งงาน และในกรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาแล้วเห็นว่า การยกเลิกการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองานที่ได้ดําเนินการไปแล้วจะเป็นประโยชน์แก่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอย่างยิ่ง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอํานาจสั่งยกเลิกการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองานดังกล่าวได้
ข้อ 36 การซื้อหรือการจ้างโดยวิธีสอบราคาที่ปรากฏว่า ราคาของผู้เสนอราคาตํ่าสุดรายที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างตามข้อ 35 (3) ยังสูงกว่ากว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างให้คณะกรรมการเปิดซองสอบราคาดําเนินการตามลําดับ ดังนี้
(1) เรียกผู้เสนอราคารายนั้นมาต่อรองราคาให้ตํ่าสุดเท่าที่จะทําได้ หากผู้เสนอราคารายนั้นยอมลดราคาแล้วราคาที่เสนอใหม่ไม่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างหรือสูงกว่า แต่ส่วนที่สูงกว่านั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง หรือต่อรองแล้วไม่ยอมลดราคาลงอีกแต่ส่วนที่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างนั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ถ้าเห็นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เหมาะสม ก็ให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น
(2) ถ้าดําเนินการตาม (1) แล้วไม่ได้ผล ให้เรียกผู้เสนอราคาที่คณะกรรมการเห็นสมควรซื้อหรือจ้างทุกรายตามข้อ 35 (3) มาต่อรองราคาใหม่พร้อมกัน ด้วยวิธียื่นซองเสนอราคาภายในกําหนดระยะเวลาอันสมควร หากรายใดไม่มายื่นซองให้ถือว่ารายนั้นยืนราคาตามที่เสนอไว้เดิม หากผู้เสนอราคาตํ่าสุดในการต่อรองราคาครั้งนี้เสนอราคาไม่สูงกว่าวงเงินที่จะซื้อหรือจ้างหรือสูงกว่า แต่ส่วนที่สูงกว่านั้นไม่เกินร้อยละสิบของวงเงินที่จะซื้อหรือจ้าง ถ้าเห็นว่าราคาดังกล่าวเป็นราคาที่เหมาะสมแล้ว ก็ให้เสนอซื้อหรือจ้างจากผู้เสนอราคารายนั้น และเมื่อมีราคาซื้อหรือจ้างเพิ่มขึ้น ให้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นด้วย
(3) ถ้าดําเนินการตาม (2) แล้วไม่ได้ผล ให้เสนอความเห็นต่อผู้สั่งซื้อหรือผู้สั่งจ้างเพื่อประกอบการใช้ดุลพินิจว่าจะสมควรลดรายการ ลดจํานวน หรือลดเนื้องาน หรือขอเงินเพิ่มเติม หรือยกเลิกการสอบราคา เพื่อดําเนินการสอบราคาใหม่
ข้อ 125  การลงนามในสัญญาในการจัดหาตามระเบียบนี้ เป็นอํานาจของหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และให้ทําเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ ตามตัวอย่างที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด
การทําสัญญารายใดถ้าจําเป็นต้องมีข้อความหรือรายการแตกต่างไปจากตัวอย่างสัญญาที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด โดยมีสาระสําคัญตามที่กําหนดไว้ในตัวอย่างสัญญาและไม่ทําให้ทางหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเสียเปรียบก็ให้กระทําได้ เว้นแต่หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเห็นว่าจะมีปัญหาในทางเสียเปรียบหรือไม่รัดกุมพอก็ให้ส่งร่างสัญญานั้นไปให้อัยการจังหวัดหรือสํานักงานอัยการสูงสุดพิจารณาก่อน
ในกรณีที่ไม่อาจทําสัญญาตามตัวอย่างที่กระทรวงมหาดไทยกําหนดได้ และจําเป็นต้องร่างสัญญาขึ้นใหม่ต้องส่งร่างสัญญานั้นให้สํานักงานอัยการสูงสุดพิจารณาก่อน เว้นแต่หัวหน้า ฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเห็นสมควรทําสัญญาตามแบบที่เคยผ่านการพิจารณาของอัยการจังหวัดหรือสํานักงานอัยการสูงสุดมาแล้ว ก็ให้กระทําได้
ในกรณีจําเป็นต้องทําสัญญาเป็นภาษาต่างประเทศ ให้ทําเป็นภาษาอังกฤษ แต่ต้องมีคําแปลตัวสัญญาและเอกสารแนบท้ายสัญญา เฉพาะที่สําคัญเป็นภาษาไทยไว้ด้วย เว้นแต่เป็นการทําสัญญาตามตัวอย่างที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด ไม่ต้องแปลเป็นภาษาไทย
ข้อ 127 การทําสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือให้กําหนดค่าปรับเป็นรายวัน ในอัตราตายตัวระหว่างร้อยละ 0.01-0.20 ของราคาพัสดุที่ยังไม่ได้รับมอบ เว้นแต่การจ้างซึ่งต้องการผลสําเร็จของงานทั้งหมดพร้อมกัน ให้กําหนดค่าปรับเป็นรายวันเป็นจํานวนเงินตายตัวในอัตราร้อยละ 0.01-0.10 ของราคางานจ้างนั้น แต่จะต้องไม่ตํ่ากว่าวันละ 100 บาท สําหรับการก่อสร้างสาธารณูปโภคที่มีผลกระทบต่อการจราจร ให้กําหนดค่าปรับในอัตราร้อยละ0.25 ของราคางานจ้างนั้น
การกําหนดค่าปรับตามวรรคหนึ่ง ในอัตราหรือเป็นจํานวนเงินเท่าใด ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โดยคํานึงถึงราคาและลักษณะของพัสดุซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการที่คู่สัญญาของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหลีกเลี่ยงไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือกระทบต่อการจราจรแล้วแต่กรณี
ในกรณีการจัดหาสิ่งของที่ประกอบกันเป็นชุด ถ้าขาดส่วนประกอบส่วนหนึ่งส่วนใดไปแล้วจะไม่สามารถใช้การโดยสมบูรณ์ แม้คู่สัญญาจะส่งมอบสิ่งของภายในกําหนดตามสัญญา แต่ยังขาดส่วนประกอบบางส่วน ต่อมาได้ส่งมอบส่วนประกอบที่ยังขาดนั้นเกินกําหนดสัญญาให้ถือว่าไม่ได้ส่งมอบสิ่งของนั้นเลย ให้ปรับเต็มราคาของทั้งชุด
ในกรณีที่การจัดหาสิ่งของคิดราคารวมทั้งค่าติดตั้งหรือทดลองด้วย ถ้าติดตั้งหรือทดลองเกินกว่ากําหนดตามสัญญาเป็นจํานวนวันเท่าใด ให้ปรับเป็นรายวันในอัตราที่กําหนดของราคาทั้งหมด
เมื่อครบกําหนดส่งมอบพัสดุตามสัญญาหรือข้อตกลง ให้หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นรีบแจ้งการเรียกค่าปรับตามสัญญาหรือข้อตกลงจากคู่สัญญา และเมื่อคู่สัญญาได้ส่งมอบพัสดุให้หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นบอกสงวนสิทธิการเรียกค่าปรับในขณะที่รับมอบพัสดุนั้นด้วย
ข้อ 128  ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นส่งสําเนาสัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือ ซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไป ให้สํานักงานตรวจเงินแผ่นดินหรือสํานักงานตรวจเงินแผ่นดินภูมิภาค แล้วแต่กรณี และสรรพากรจังหวัด ภายใน 30 วัน นับแต่วันทําสัญญาหรือข้อตกลง
ข้อ 129  สัญญาหรือข้อตกลงเป็นหนังสือที่ได้ลงนามแล้วจะแก้ไขเปลี่ยนแปลงมิได้ เว้นแต่การแก้ไขนั้นจะเป็นความจําเป็นเพื่อประโยชน์แก่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หรือไม่ทําให้หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นต้องเสียประโยชน์ ทั้งนี้     การแก้ไขสัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวจะต้องอยู่ภายใต้ขอบข่ายของวัตถุประสงค์ของสัญญาหรือข้อตกลงด้วย โดยให้ถือปฏิบัติ ดังนี้
(1) ถ้างบประมาณดําเนินการตั้งจ่ายจากเงินรายได้ ตามข้อ 57 ให้อยู่ในดุลพินิจของหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่จะอนุมัติแก้ไขสัญญานั้นได้
(2) ถ้างบประมาณดําเนินการตั้งจ่ายจากเงินอุดหนุนที่กําหนดให้หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นไม่ต้องตราเป็นงบประมาณรายจ่ายทั้งหมดหรือบางส่วน ให้รายงานเหตุผลความจําเป็นเพื่อขอทําความตกลงกับผู้ว่าราชการจังหวัด แต่ถ้ามีการเพิ่มวงเงินให้รายงานเหตุผลความจําเป็นเสนอจังหวัดเพื่อกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นพิจารณาขอทําความตกลงกับสํานักงบประมาณก่อน
(3) ถ้างบประมาณดําเนินการตั้งจ่ายจาก เงินกู้ภายในประเทศ หรือเงินช่วยเหลือ หรือเงินกู้ให้ปฏิบัติตาม (1) เว้นแต่จะมีหลักเกณฑ์ของแหล่งเงินนั้นๆ กําหนดไว้เป็นอย่างอื่น
การแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลงตามวรรคหนึ่ง หากมีความจําเป็นต้องเพิ่มหรือลดวงเงิน หรือ
เพิ่มหรือลดระยะเวลาส่งมอบของหรือระยะเวลาในการทํางานให้ตกลงพร้อมกันไป และเมื่อได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลงดังกล่าวแล้วให้ปฏิบัติตามข้อ 128 ด้วย
สําหรับการจัดหาที่เกี่ยวกับความมั่นคงแข็งแรง หรืองานเทคนิคเฉพาะอย่าง จะต้อง ได้รับการรับรองจากวิศวกร สถาปนิกและวิศวกร ผู้ชํานาญการ หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งรับผิดชอบหรือสามารถรับรองคุณลักษณะเฉพาะ แบบและรายการของงานก่อสร้าง หรืองานเทคนิคเฉพาะอย่างนั้น แล้วแต่กรณีด้วยการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาหรือข้อตกลงข้างต้นที่มีผลเป็นการเพิ่มวงเงิน ให้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการงบประมาณด้วย
ข้อ 130  ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นพิจารณา ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ในกรณีที่มีเหตุอันเชื่อได้ว่า ผู้รับจ้างไม่สามารถทํางานให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กําหนด
การตกลงกับคู่สัญญาที่จะบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นพิจารณาได้เฉพาะกรณีที่เป็นประโยชน์แก่หน่วยการบริหาร       ราชการส่วนท้องถิ่นโดยตรง หรือเพื่อแก้ไขข้อเสียเปรียบของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ในการที่จะปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้นต่อไป
ข้อ 131 ในกรณีที่คู่สัญญาไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงได้ และจะต้องมีการปรับตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้น หากจํานวนเงินค่าปรับจะเกินร้อยละสิบของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างให้หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นพิจารณาดําเนินการบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง เว้นแต่คู่สัญญาจะได้ยินยอมเสียค่าปรับให้แก่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น โดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น       ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้เท่าที่จําเป็น
ข้อ 132 การงดหรือลดค่าปรับให้แก่คู่สัญญา หรือการขยายเวลาทําการตามสัญญาหรือข้อตกลงให้อยู่ในอํานาจของหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่จะพิจารณา แต่ถ้าวงเงินในการสั่งการให้จัดหาครั้งนั้นเกินอํานาจของหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ให้เสนอผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณา และให้พิจารณาได้ตามจํานวนวันที่มีเหตุเกิดขึ้นจริงเฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
(1) เหตุเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
(2) เหตุสุดวิสัย
(3) เหตุเกิดจากพฤติการณ์อันหนึ่งอันใดที่คู่สัญญาไม่ต้องรับผิดตามกฎหมาย
ให้หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นระบุไว้ในสัญญากําหนดให้คู่สัญญาต้องแจ้งเหตุดังกล่าว ให้หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นทราบภายใน 15 วัน นับแต่เหตุนั้นได้สิ้นสุดลง หากมิได้แจ้งภายในเวลาที่กําหนด คู่สัญญาจะยกมากล่าวอ้าง เพื่อขอลดหรืองดค่าปรับ หรือขอขยายเวลาในภายหลังมิได้ เว้นแต่กรณีตาม (1) ซึ่งมีหลักฐานชัดแจ้งหรือหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นทราบดีอยู่แล้วตั้งแต่ต้น
ข้อ 133 ในกรณีที่ไม่มีระเบียบกําหนดไว้เป็นการเฉพาะและเป็นความจําเป็น เพื่อประโยชน์แก่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ที่จะใช้สิทธิตามเงื่อนไขของสัญญาหรือข้อตกลง หรือข้อกฎหมายให้อยู่ในดุลพินิจของกระทรวงมหาดไทยสั่งการได้ตามความจําเป็น
ข้อ 134 หลักประกันซองหรือหลักประกันสัญญา ให้ใช้หลักประกันอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(1) เงินสด
(2) เช็คที่ธนาคารเซ็นสั่งจ่าย ซึ่งเป็นเช็คลงวันที่ที่ใช้เช็คนั้นชําระต่อเจ้าหน้าที่ หรือก่อนวันนั้นไม่เกิน 3 วันทําการ
(3) หนังสือคํ้าประกันของธนาคารภายในประเทศตามตัวอย่างที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด
(4) หนังสือคํ้าประกันของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการเงินทุนเพื่อการพาณิชย์ และประกอบธุรกิจคํ้าประกันตามประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทย ตามรายชื่อบริษัทเงินทุนที่ธนาคารแห่งประเทศไทยแจ้งเวียนให้ส่วนราชการต่าง ๆ ทราบแล้วโดยอนุโลม ให้ใช้ตามตัวอย่างหนังสือคํ้าประกันของธนาคารที่กระทรวงมหาดไทย
(5) พันธบัตรรัฐบาลไทย
สําหรับการประกวดราคานานาชาติ ให้ใช้หนังสือคํ้าประกันของธนาคารในต่างประเทศที่มีหลักฐานดี และหัวหน้าส่วนราชการเชื่อถือเป็นหลักประกันซองได้อีกประเภทหนึ่ง
ข้อ 135 หลักประกันซองและหลักประกันสัญญาในข้อ 134 ให้กําหนดมูลค่าเป็นจํานวนเต็มในอัตราร้อยละห้าของวงเงินหรือราคาพัสดุที่จัดหาครั้งนั้น แล้วแต่กรณี เว้นแต่การจัดหาพัสดุที่หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเห็นว่ามีความสําคัญเป็นพิเศษ    จะกําหนดอัตราสูงกว่าร้อยละห้าแต่ไม่เกินร้อยละสิบก็ได้
ในการทําสัญญาจัดหาพัสดุที่มีระยะเวลาผูกพันตามสัญญาเกิน 1 ปี และพัสดุนั้นไม่ต้องมีการประกันเพื่อความชํารุดบกพร่อง เช่น พัสดุใช้สิ้นเปลือง ให้กําหนดหลักประกันในอัตราร้อยละห้าของราคาพัสดุที่ส่งมอบในแต่ละปีของสัญญา โดยให้ถือว่าหลักประกันนี้เป็นการคํ้าประกันตลอดอายุสัญญา และหากในปีต่อไปราคาพัสดุที่ส่งมอบแตกต่างไปจากราคาในรอบปีก่อน ให้ปรับปรุงหลักประกันตามอัตราส่วนที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นก่อนครบรอบปี ในกรณีที่หลักประกันต้องปรับปรุงในทางที่เพิ่มขึ้นและคู่สัญญาไม่นําหลักประกันมาเพิ่มให้ครบจํานวนภายใน 15 วันก่อนการส่งมอบพัสดุงวดสุดท้ายของปีนั้นให้หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหักจากเงินค่าพัสดุงวดสุดท้ายของปีนั้นที่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นจะต้องจ่ายให้เป็นหลักประกันในส่วนที่เพิ่มขึ้น
การกําหนดหลักประกันตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง จะต้องระบุไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารสอบราคาหรือเอกสารประกวดราคาและหรือในสัญญาด้วย
ในกรณีที่ผู้เสนอราคาหรือคู่สัญญาวางหลักประกันที่มีมูลค่าสูงกว่าที่กําหนดไว้ในระเบียบเอกสารสอบราคาหรือเอกสารประกวดราคา หรือสัญญา ให้อนุโลมรับได้
ข้อ 136 ในกรณีที่ส่วนราชการ หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอื่น หรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้เสนอราคาหรือเป็นคู่สัญญาไม่ต้องวางหลักประกัน
ข้อ 64 คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ มีหน้าที่ดังนี้
(1) ตรวจรับพัสดุ ณ ที่ทําการของผู้ใช้พัสดุนั้น หรือสถานที่ซึ่งกําหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลงการตรวจรับพัสดุ ณ สถานที่อื่น ในกรณีที่ไม่มีสัญญาหรือข้อตกลง จะต้องได้รับอนุมัติจากหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นก่อน
(2)  ตรวจรับพัสดุให้ถูกต้องครบถ้วนตามหลักฐานที่ตกลงกันไว้ สําหรับกรณีที่มีการทดลองหรือตรวจสอบในทางเทคนิคหรือทางวิทยาศาสตร์ จะเชิญผู้ชํานาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับพัสดุนั้นมาให้คําปรึกษา หรือส่งพัสดุนั้นไปทดลองหรือตรวจสอบ ณ สถานที่ของผู้ชํานาญการหรือผู้ทรงคุณวุฒินั้นๆ ก็ได้ในกรณีจําเป็นที่ไม่สามารถตรวจนับเป็นจํานวนหน่วยทั้งหมดได้ ให้ตรวจรับตามหลักวิชาการสถิติ
(3)  โดยปกติให้ตรวจรับพัสดุในวันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนําพัสดุมาส่ง และให้ดําเนินการให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด
(4)  เมื่อตรวจถูกต้องครบถ้วนแล้ว ให้รับพัสดุไว้และถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างได้ส่งมอบพัสดุถูกต้องครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างนําพัสดุนั้นมาส่ง แล้วมอบแก่เจ้าหน้าที่พัสดุพร้อมกับทําใบตรวจรับโดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐานอย่างน้อยสองฉบับ มอบแก่ผู้ขายหรือผู้รับจ้าง 1 ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ1 ฉบับ เพื่อดําเนินการเบิกจ่ายเงินตามระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และรายงานให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นทราบในกรณีที่เห็นว่าพัสดุที่ส่งมอบมีรายละเอียดไม่เป็นไปตามข้อกําหนดในสัญญาหรือ          ข้อตกลง ให้รายงานหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุเพื่อทราบหรือสั่งการแล้วแต่กรณี
(5)  ในกรณีที่ผู้ขายหรือผู้รับจ้างส่งมอบพัสดุถูกต้องแต่ไม่ครบจํานวน หรือส่งมอบครบจํานวน แต่ไม่ถูกต้องทั้งหมด ถ้าสัญญาหรือข้อตกลงมิได้กําหนดไว้เป็นอย่างอื่นให้ตรวจรับไว้เฉพาะจํานวนที่ถูกต้อง โดยถือปฏิบัติตาม (4) และโดยปกติให้รีบรายงานหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน 3 วันทําการ นับแต่วันตรวจพบ แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่จะปรับผู้ขายหรือผู้รับจ้างในจํานวนที่ส่งมอบที่ส่งมอบไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้องนั้น
(6)  การตรวจรับพัสดุที่ประกอบกันเป็นชุดหรือหน่วย ถ้าขาดส่วนประกอบอย่างใดอย่างหนึ่งไปแล้วจะไม่สามารถใช้การได้โดยสมบูรณ์ ให้ถือว่าผู้ขายหรือผู้รับจ้างยังมิได้ส่งมอบพัสดุนั้น และโดยปกติให้รีบรายงานหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อแจ้งให้ผู้ขายหรือผู้รับจ้างทราบภายใน 3 วันทําการ นับแต่วันที่ตรวจพบ
(7)  ถ้ากรรมการตรวจรับพัสดุบางคนไม่ยอมรับพัสดุ โดยทําความเห็นแย้งไว้ ให้เสนอหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นสั่งการให้รับพัสดุนั้นไว้ จึงดําเนินการตาม (4) หรือ (5) แล้วแต่กรณี
ข้อ 65  คณะกรรมการตรวจการจ้างมีหน้าที่ดังนี้
(1)  ตรวจสอบรายงานการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง และเหตุการณ์แวดล้อมที่ผู้ควบคุมงานรายงาน โดยตรวจสอบกับแบบรูป รายการละเอียด และข้อกําหนดในสัญญาทุกสัปดาห์ รวมทั้ง รับทราบหรือพิจารณาการสั่งหยุดงาน หรือพักงานของผู้ควบคุมงานแล้วรายงานหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป
(2)  การดําเนินการตาม (1) ในกรณีมีข้อสงสัย หรือมีกรณีที่เห็นว่าตามหลักวิชาการช่างไม่น่าจะเป็นไปได้ ให้ออกตรวจงานจ้าง ณ สถานที่ที่กําหนดไว้ในสัญญาหรือที่ตกลงให้ทํางานจ้างนั้นๆ โดยให้มีอํานาจสั่งปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติม หรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควรและตามหลักวิชาการช่างเพื่อให้เป็นไปตามแบบรูป รายการละเอียดและข้อกําหนดในสัญญา
(3)  โดยปกติให้ตรวจผลงานที่ผู้รับจ้างส่งมอบภายใน 3 วันทําการ นับแต่วันที่ประธานกรรมการได้รับทราบการส่งมอบงาน และให้ทําการตรวจรับให้เสร็จสิ้นไปโดยเร็วที่สุด
(4)  เมื่อตรวจเห็นว่าเป็นการถูกต้องครบถ้วนเป็นไปตามแบบรูป รายการละเอียด และข้อกําหนดในสัญญาแล้วให้ถือว่าผู้รับจ้างส่งมอบงานครบถ้วนตั้งแต่วันที่ผู้รับจ้างส่งงานจ้างนั้น และให้ทําใบรับรองผลการปฏิบัติงานทั้งหมดหรือเฉพาะงวด แล้วแต่กรณีโดยลงชื่อไว้เป็นหลักฐาน อย่างน้อย 2 ฉบับ มอบให้แก่ผู้รับจ้าง 1 ฉบับ และเจ้าหน้าที่พัสดุ 1 ฉบับ เพื่อทําการเบิกจ่ายเงิน ตามระเบียบว่าด้วยการเบิกจ่ายเงินของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น และรายงานให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นทราบ
ในกรณีที่เห็นว่าผลงานที่ส่งมอบทั้งหมดหรืองวดใดก็ตามไม่เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกําหนดในสัญญา ให้รายงานหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นผ่านหัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ เพื่อทราบหรือสั่งการแล้วแต่กรณี
(5)ในกรณีที่กรรมการตรวจการจ้างบางคนไม่ยอมรับงานโดยทําความเห็นแย้งไว้ให้เสนอหัวหน้าฝ่าย
บริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเพื่อพิจารณาสั่งการ ถ้าหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นสั่งการให้ตรวจรับงานจ้างนั้นไว้ จึงจะดําเนินการตาม (4)
ข้อ 66  ผู้ควบคุมงานมีหน้าที่ ดังนี้
(1)  ตรวจและควบคุมงาน ณ สถานที่ที่กําหนดไว้ในสัญญา หรือที่ตกลงให้ทํางานจ้างนั้นๆทุกวัน ให้เป็นไปตามแบบรูป รายการละเอียดและข้อกําหนดไว้ในสัญญาทุกประการ โดยสั่งเปลี่ยนแปลงแก้ไขเพิ่มเติมหรือตัดทอนงานจ้างได้ตามที่เห็นสมควร และตามหลักวิชาช่าง เพื่อให้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกําหนดในสัญญา ถ้าผู้รับจ้างขัดขืนไม่ปฏิบัติตาม ก็สั่งให้หยุดงานนั้นเฉพาะส่วนหนึ่งส่วนใดหรือทั้งหมดแล้วแต่กรณีไว้ก่อน จนกว่าผู้รับจ้างจะยอมปฏิบัติให้ถูกต้องตามคําสั่ง และให้รายงานคณะกรรมการตรวจการจ้างทันที
(2)  ในกรณีที่ปรากฏว่าแบบรูป รายการละเอียดหรือข้อกําหนดในสัญญามีข้อความขัดกันหรือเป็นที่คาดหมายได้ว่า ถึงแม้ว่างานนั้นจะได้เป็นไปตามแบบรูปรายการละเอียดและข้อกําหนดในสัญญาแต่เมื่อสําเร็จแล้วจะไม่มั่นคงแข็งแรง หรือไม่เป็นไปตามหลักวิชาช่างที่ดี หรือไม่ปลอดภัย ให้สั่งพักงานนั้นไว้ก่อน แล้วรายงานคณะกรรมการตรวจการจ้างโดยเร็ว
(3)  จดบันทึกสภาพการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างและเหตุการณ์แวดล้อมเป็นรายวันพร้อมทั้งผลการปฏิบัติงาน หรือการหยุดงานและสาเหตุที่มีการหยุดงานอย่างน้อย 2 ฉบับ เพื่อรายงานให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบทุกสัปดาห์ และเก็บรักษาไว้เพื่อมอบให้แก่เจ้าหน้าที่พัสดุ เมื่อเสร็จงานแต่ละงวด โดยถือว่าเป็นเอกสารสําคัญของทางราชการเพื่อประกอบการตรวจสอบของผู้มีหน้าที่การบันทึกการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างให้ระบุรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติงานและวัสดุที่ใช้ด้วย
(4)  ในวันกําหนดลงมือทําการของผู้รับจ้างตามสัญญา และในวันถึงกําหนดส่งมอบงานแต่ละงวดให้รายงานผลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างว่าเป็นไปตามสัญญาหรือไม่ ให้คณะกรรมการตรวจการจ้างทราบภายใน 3 วันทําการนับแต่วันถึงกําหนดนั้นๆ
                เมื่อดำเนินการถึงกระบวนการตรวจรับพัสดุ/ตรวจรับงานจ้างเรียบร้อยแล้ว ให้ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน การฝากเงิน การเก็บรักษาเงิน และการตรวจเงินขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2547 ข้อ 47 การซื้อ เช่าทรัพย์สิน หรือจ้างทำของ ให้หน่วยงานผู้เบิกรีบดำเนินการวางฎีกาเบิกเงินโดยเร็วอย่างช้าไม่เกินห้าวัน นับจากวันที่ได้ตรวจรับทรัพยสินหรือตรวจรับงานถูกต้อง
ข้อ 144 พัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นไม่ว่าจะได้มาด้วยประการใด ให้อยู่ในความควบคุมตามระเบียบนี้ เว้นแต่มีระเบียบกระทรวงมหาดไทยหรือกฎหมายกําหนดไว้ เป็นอย่างอื่น
ข้อ 145 เมื่อเจ้าหน้าที่พัสดุได้รับมอบแล้ว ให้ดําเนินการดังต่อไปนี้
(1) ลงบัญชีหรือทะเบียนเพื่อควบคุมพัสดุ แล้วแต่กรณี แยกเป็นชนิดและแสดงรายการตามตัวอย่างที่กระทรวงมหาดไทยกําหนด โดยให้มีหลักฐานการรับเข้าบัญชีหรือทะเบียนไว้ประกอบรายการด้วยสําหรับพัสดุประเภทอาหารสด จะลงรายการอาหารสดทุกชนิดในบัญชีเดียวกันก็ได้
(2) เก็บรักษาพัสดุให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ปลอดภัยและให้ครบถ้วนถูกต้องตรงตามบัญชีหรือทะเบียน
ข้อ  137 ให้หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นคืนหลักประกันให้แก่ผู้เสนอราคา คู่สัญญาหรือผู้คํ้าประกันตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) ................
(2) หลักประกันสัญญาให้คืนให้แก่คู่สัญญาหรือผู้คํ้าประกันโดยเร็ว และอย่างช้าต้อง ไม่เกิน15 วัน นับแต่วันที่คู่สัญญาพ้นจากข้อผูกพันตามสัญญาแล้ว
การจัดหาที่ไม่ต้องมีการประกันเพื่อความชํารุดบกพร่อง ให้คืนหลักประกันให้แก่คู่สัญญาหรือผู้คํ้าประกันตามอัตราส่วนของพัสดุ ซึ่งหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นได้รับมอบไว้แล้ว      แต่ทั้งนี้จะต้องระบุไว้เป็นเงื่อนไขในเอกสารสอบราคาหรือเอกสารประกวดราคาและในสัญญาด้วย
การคืนหลักประกันที่เป็นหนังสือคํ้าประกันของธนาคาร บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ในกรณีที่ผู้เสนอราคา หรือคู่สัญญาไม่มารับภายในกําหนดเวลาข้างต้น ให้รีบส่งต้นฉบับหนังสือคํ้าประกันให้แก่ผู้เสนอราคาหรือคู่สัญญา โดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนโดยเร็ว        พร้อมกับแจ้งให้ธนาคาร บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บริษัทเงินทุน หรือบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ผู้คํ้าประกันทราบด้วย
ข้อ 138 เมื่อปรากฏกรณีใดกรณีหนึ่งดังต่อไปนี้
(1)  ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกแล้วไม่ย่อมไปทําสัญญา หรือข้อตกลงภายในเวลาที่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นกําหนด
(2)  เมื่อคู่สัญญาของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น    หรือผู้รับจ้างช่วงที่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอนุญาตให้รับช่วงงานได้ไม่ปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงนั้น
(3)  พัสดุที่ซื้อหรือจ้างทํา เกิดข้อบกพร่องขึ้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลงและไม่ได้รับการแก้ไขให้ถูกต้องจากผู้จําหน่าย ผู้รับจ้าง หรือคู่สัญญา หรือพัสดุที่ซื้อหรือจ้างไม่ได้มาตรฐานหรือวัสดุที่ใช้ไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ครบถ้วนตามที่กําหนดไว้ในสัญญาหรือข้อตกลงทําให้งานบกพร่องเสียหายอย่างร้ายแรง หรือ
(4) สําหรับงานก่อสร้างสาธารณูปโภค หากปรากฏว่าพัสดุหรือวัสดุที่ซื้อหรือจ้าง หรือใช้โดยผู้รับจ้างช่วงที่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอนุญาตให้รับช่วงงานได้ มีข้อบกพร่อง     หรือไม่ได้มาตรฐานหรือไม่ครบถ้วนตาม (3) 
ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นทํารายงานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดโดยเร็ว เพื่อพิจารณาให้บุคคลที่ได้รับคัดเลือก ผู้จําหน่าย ผู้รับจ้างคู่สัญญาหรือผู้รับจ้างช่วงที่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอนุญาตให้รับช่วงงานได้ เป็นผู้ทิ้งงาน แล้วแต่กรณี    พร้อมทั้งเสนอความเห็นของตนเพื่อประกอบการพิจารณาของผู้ว่าราชการจังหวัดด้วย
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาแล้วเห็นว่า  การกระทําตาม (1) (2) (3) และ (4) เป็นการกระทําโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร   และบุคคลดังกล่าวสมควรเป็นผู้ทิ้งงานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทิ้งงาน แล้วส่งชื่อบุคคลนั้นไปยังปลัดกระทรวงมหาดไทยเพื่อส่งชื่อผู้ทิ้งงานดังกล่าวให้ปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีพิจารณาแจ้งเวียนให้ส่วนราชการอื่นทราบ รวมทั้งแจ้งให้ผู้ทิ้งงานรายนั้นทราบทางไปรษณีย์ลงทะเบียนด้วย
ข้อ 138/1 เมื่อปลัดสํานักนายกรัฐมนตรีแจ้งเวียนรายชื่อผู้ทิ้งงานให้ส่วนราชการต่างๆทราบแล้ว  ให้ปลัดกระทรวงมหาดไทยแจ้งเวียนให้หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นทราบและห้ามหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นก่อนิติสัมพันธ์กับผู้ทิ้งงาน เว้นแต่จะได้รับการแจ้งเวียน เพิกถอนการเป็นผู้ทิ้งงาน
การห้ามหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นก่อนิติสัมพันธ์กับผู้ทิ้งงานตามวรรคแรกให้ใช้บังคับกับบุคคลตามข้อ 138/5 วรรคสอง และวรรคสามด้วย
บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลใดที่อยู่ในระหว่างการพิจารณาให้เป็นผู้ทิ้งงานตามข้อกําหนดในส่วนนี้ ให้บุคคลดังกล่าวมีสิทธิเสนอราคาหรือเสนองานให้แก่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นแต่ถ้าผลการพิจารณาต่อมา ผู้ว่าราชการจังหวัดได้สั่งให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลนั้นเป็นผู้ทิ้งงานให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นตัดรายชื่อบุคคลดังกล่าวออกจากรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือกหรือยกเลิกการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคา หรือเสนองาน หรือ ยกเลิกการลงนามในสัญญาซื้อหรือจ้างที่ได้กระทําก่อนการสั่งการของผู้ว่าราชการจังหวัด เว้นแต่ ในกรณีที่หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นพิจารณาเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ แก่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอย่างยิ่ง หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นจะไม่ตัดรายชื่อบุคคลดังกล่าวออกจากรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับการคัดเลือก หรือจะไม่ยกเลิกการเปิดซองสอบราคา ประกวดราคาหรือเสนองานหรือจะไม่ยกเลิกการลงนามในสัญญาซื้อหรือจ้าง ที่ได้ทําก่อนการสั่งการของผู้ว่าราชการจังหวัดก็ได้
ข้อ 138 /2 ในกรณีการจ้างที่ปรึกษาหรือการจ้างออกแบบและควบคุมงาน หากตรวจสอบแล้วปรากฏว่าผลจากการปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวมีข้อบกพร่อง ผิดพลาด หรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอย่างร้ายแรง   ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นทํารายงานเสนอผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาให้คู่สัญญานั้นเป็นผู้ทิ้งงาน
การพิจารณาสั่งให้คู่สัญญาเป็นผู้ทิ้งงานตามวรรคหนึ่ง ให้นําความในข้อ 138 วรรคสอง และวรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 138/3 ในการจัดหาพัสดุตามระเบียบนี้ หากมีเหตุอันควรสงสัยปรากฏในภายหลังว่าผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายหนึ่งหรือหลายราย            ไม่ว่าจะเป็นผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ได้รับคัดเลือกหรือไม่ก็ตามกระทําการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมหรือกระทําการโดยไม่สุจริต เช่น การเสนอเอกสารอันเป็นเท็จ หรือใช้ชื่อบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลอื่นมาเสนอราคาแทนให้หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวกับข้องดําเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงว่าบุคคลดังกล่าวสมควรเป็นผู้ทิ้งงานหรือไม่       โดยมีหนังสือแจ้งเหตุที่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นสงสัยไปยัง ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกสงสัยทราบ       พร้อมทั้งให้ชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงภายในเวลาที่หน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นกําหนด       แต่ต้องไม่น้อยกว่า 15 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น
เมื่อหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นได้รับคําชี้แจงจากผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกสงสัยตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นทํารายงานไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด พร้อมทั้งเสนอความเห็นของตนเพื่อประกอบการพิจารณาของผู้ว่าราชการจังหวัดว่าบุคคลดังกล่าวสมควรเป็นผู้ทิ้งงานหรือไม่
หากผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกสงสัย ไม่ชี้แจงภายในกําหนดเวลาตามวรรคหนึ่งให้ถือว่ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทําอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมหรือมีการกระทําโดยไม่สุจริตให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น เสนอผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมทั้งเสนอความเห็นเพื่อพิจารณาให้ผู้นั้นเป็นผู้ทิ้งงาน
การพิจารณาให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานเป็นผู้ทิ้งงานตามวรรคสองและวรรคสาม ให้นําความในข้อ 138 วรรคสอง และวรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 138/4 ในกรณีที่ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ร่วมกระทําการอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรมหรือกระทําการโดยไม่สุจริตรายใด ซึ่งมิใช่เป็นผู้ริเริ่มให้มีการกระทําดังกล่าวได้ให้ความร่วมมือเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ให้หัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นหรือผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาให้ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานรายนั้นได้รับการยกเว้นที่จะไม่เป็นผู้ทิ้งงานได้ โดยแสดงเหตุผลหรือระบุเหตุผลไว้ในการเสนอความเห็นหรือในการสั่งการ แล้วแต่กรณี
ข้อ 138/5 ในกรณีที่นิติบุคคลใดถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานตามข้อ 138 ข้อ 138/2 หรือข้อ 138/3 ถ้าการกระทําดังกล่าวเกิดจากหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจในการดําเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้น ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสั่งให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทิ้งงานด้วย
ในกรณีที่นิติบุคคลรายใดถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานตามข้อ 138 ข้อ 138/2 หรือข้อ 138/3ให้คําสั่งดังกล่าวมีผลไปถึงนิติบุคคลอื่นที่ดําเนินธุรกิจประเภทเดียวกัน ซึ่งมีหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจในการดําเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้นเป็นบุคคลเดียวกันกับหุ้นส่วนผู้จัดการกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจในการดําเนินงานในกิจการของนิติบุคคลที่ถูกพิจารณาให้เป็นผู้ทิ้งงานด้วย
ในกรณีที่บุคคลธรรมดารายใดถูกสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงานตามข้อ 138 ข้อ 138/2 หรือ ข้อ 138/3ให้คําสั่งดังกล่าวมีผลไปถึงนิติบุคคลอื่นที่เข้าเสนอราคาหรือเสนองาน ซึ่งมีบุคคลดังกล่าวเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหาร หรือผู้มีอํานาจในการดําเนินงานในกิจกรรมของนิติบุคคลนั้นด้วย
ข้อ 138/6 เพื่อประโยชน์ในการดําเนินการให้เป็นไปตามระเบียบนี้     เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงอันควรสงสัยว่ามีการกระทําตามข้อ 138  ข้อ 138/2 หรือข้อ 138/3  และผู้ว่าราชการจังหวัดยังไม่ได้รับรายงานจากหัวหน้าฝ่ายบริหารของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ผู้ว่าราชการจังหวัด อาจเรียกให้ผู้ได้รับการคัดเลือกผู้จําหน่าย ผู้รับจ้างคู่สัญญา ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่มีข้อเท็จจริงอันควรสงสัยว่ามีการกระทําอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือกระทําการโดยไม่สุจริตมาชี้แจงข้อเท็จจริงต่อผู้ว่าราชการจังหวัด       ทั้งนี้โดยมีหนังสือแจ้งเหตุที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสงสัยไปยังบุคคลดังกล่าว พร้อมทั้งแจ้งให้บุคคลนั้นชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริงภายในเวลาที่ผู้ว่าราชการจังหวัดกําหนด แต่ต้องไม่ น้อยกว่า 15 วัน   นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งจากผู้ว่าราชการจังหวัด
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดได้รับคําชี้แจงจากผู้ได้รับคัดเลือก ผู้จําหน่าย ผู้รับจ้าง คู่สัญญาผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกสงสัยตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาคําชี้แจง         ดังกล่าว หากคําชี้แจงไม่มีเหตุผลรับฟังได้    ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทิ้งงานและให้นําความในข้อ 138 วรรคสามมาใช้บังคับโดยอนุโลมหากผู้ได้รับการคัดเลือก ผู้จําหน่าย ผู้รับจ้าง คู่สัญญา ผู้เสนอราคาหรือผู้เสนองานที่ถูกสงสัยตามวรรคหนึ่ง ไม่ชี้แจงภายในกําหนดเวลาที่ผู้ว่าราชการจังหวัดได้กําหนดไว้ ให้ถือว่ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทําอันเป็นการขัดขวางการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือมีการกระทําโดยไม่สุจริตให้ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาให้บุคคลดังกล่าวเป็นผู้ทิ้งงาน และให้นําความในข้อ 138 วรรคสาม มาใช้บังคับโดยอนุโลม










ข้างล่างนี้เป็นตัวอย่างที่ต้องใช้วิจารญาณในการคัดลอก ขอให้ทุกท่านอ้างอิงจากระเบียบเป็นหลัก
            เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์  จึงขออนุมัติดำเนินการ ดังนี้
. เหตุผลและความจำเป็นที่ต้องซื้อ
  เนื่องจากมีความจำเป็นต้องใช้วัสดุสำนักงาน จึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการจัดซื้อวัสดุเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานด้านการเงินและบัญชี ด้านพัสดุ การการจัดเก็บรายได้ และงานด้านอื่น ๆ ที่รับผิดชอบ   
. รายละเอียดของพัสดุที่จะซื้อ
   ๒.๑ กระดาษถ่ายเอกสารA/๘๐g       จำนวน      ๖๐    รีม   ๆ ละ    ๑๒๐  บาท
   ๒.๒ ซองสีน้ำตาลA๔ ขยายข้าง          จำนวน    ๑๐๐    ซอง   ๆ ละ       บาท
   ๒.๓ เทป ๒ หน้าชนิดบาง ขนาด / นิ้ว จำนวน           ม้วน  ๆ ละ     ๔๕  บาท
๓. ราคามาตรฐานหรือราคากลางของทางราชการ หรือราคาที่เคยซื้อหลังสุดภายในระยะ                      เวลา ๒ ปีงบประมาณ
                      ๓.๑  ราคามาตรฐาน                                           -         บาท    
                      ๓.๒  ราคากลางของทางราชการ                               -         บาท
   ๓.๓  ราคาที่เคยจัดซื้อหลังสุดภายใน ๒ ปีงบประมาณ      ดังนี้     
         ..๑ กระดาษถ่ายเอกสาร A/๘๐g                  รีมละ     ๑๒๐  บาท
         ..๒ ซองสีน้ำตาล A๔ ขยายข้าง                    ซองละ   ๓.๕๐  บาท
         ..๓ เทป ๒ หน้า ชนิดบาง ขนาด  / นิ้ว          ม้วนละ     ๔๕  บาท
         ..๔ ที่แขวนตรายางโลหะ ๒ ชั้น                     อันละ     ๑๑๐  บาท
. วงเงินที่จะซื้อ  
              จำนวนเงินทั้งสิ้น  ๑๑,๐๙๙.๐๐ บาท(หนึ่งหมื่นหนึ่งพันเก้าสิบเก้าบาทถ้วน)
                   . กำหนดเวลาที่ต้องการใช้พัสดุ  
                        ภายใน    วัน นับถัดจากวันลงนามในบันทึกตกลงซื้อขาย 
. วิธีที่จะซื้อและเหตุผลที่ต้องซื้อโดยวิธีดังกล่าว
              วิธีตกลงราคาตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น  พ.ศ.๒๕๓๕ แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๙) พ.ศ.๒๕๕๓  ข้อ ๑๒(๑), ๑๓  เหตุผลที่ต้องซื้อโดยวิธีตกลงราคาเนื่องจากการซื้อในครั้งนี้ไม่เกิน ๑๐๐,๐๐๐ บาท
                        ๗. เห็นควรจัดซื้อจาก
                    . อาศัยอำนาจตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๓๕  แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๙) พ.ศ.๒๕๕๓ ข้อ ๒๗(๖), ๒๘ ขอแต่งตั้งบุคคลซึ่งดำรงตำแหน่ง ดังต่อไปนี้ ปฏิบัติหน้าที่คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ ดังรายชื่อนี้
๑.                                      ตำแหน่ง                                                   ประธานกรรมการ
.                                      ตำแหน่ง                                                   กรรมการ
๓.                                      ตำแหน่ง                                                   กรรมการ
โดยให้คณะกรรมการดังกล่าว ปฏิบัติตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ.๒๕๓๕  แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ ๙) พ.ศ.๒๕๕๓   ข้อ ๒๙ และ ๖๔
                   หากเห็นชอบตามเสนอ เห็นควรลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจรับพัสดุแนบพร้อมนี้
         จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติให้ดำเนินการต่อไป